การเผชิญหน้ากับการสูญพันธุ์ และการปกป้องวิถีชีวิต (Thai)

วีดีทัศน์เรื่องนี้เป็นผลงานร่วมกันระหว่างองค์กร Life Mosiac และกลุ่มผู้นำชนเผ่าพื้นเมือง ทีมผู้สร้างวีดีทัศน์ และคณะที่ปรึกษาชนเผ่าพื้นเมืองจากแอฟริกา เอเชีย ละตินอเมริกา และโปลินีเซีย

บอกเล่าเรื่องราวภัยคุกคามที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เหตุฉุกเฉินต่างๆที่กระทบต่อสภาพภูมิอากาศ และการทำลายความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เรื่องราวที่เชื่อมโยงระหว่างกันต่อการสูญเสียซึ่งกำลังคุกคามต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์โลก

เราได้ทราบข่าวจากแกนนำชนผ่าพื้นเมืองทั่วโลกกำลังเริ่มดำเนินการขับเคลื่อนและเป็นแกนนำในการพัฒนาแนวทางแก้ไขเพื่อรับมือกับวิกฤติต่างๆเหล่านี้ และดำเนินการเรียกร้องให้ทุกคนแสวงหาหนทางสู่อนาคตที่คืนความอุดมสมบูรณ์ และเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันเพื่อปกป้องชีวิตบนโลกนี้

วีดีทัศน์เรื่องนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ชมที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง และเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับแกนนำในชุมชน ครู อาจารย์ และนักเคลื่อนไหวกิจกรรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

และเราหวังว่าการสร้างเครื่องมือชุดนี้ จะช่วยหนุนเสริมให้ชุมชนต่างๆ ที่จะกลายเป็นแหล่งเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่บริบทระดับโลกในการรักษา ดำรงไว้ และส่งเสริม ความหลากหลายและฟื้นฟูวัฒนธรรม และดินแดนของพวกเขาได้

Download this film here

วีดีทัศน์เรื่องนี้เป็นผลงานสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่าง LifeMosaic และแกนนำชนเผ่าพื้นเมืองจากหลากหลายประเทศ ทีมผู้สร้างหนังแหละคณะที่ปรึกษาจากแอฟริกา เอเชีย อเมริกาใต้ และโพลินีเซีย

ชุดวีดีทัศน์การเผชิญหน้ากับการสูญพันธ์ และการปกป้องวิถีชีวิต 
บอกเล่าเรื่องราวภัยคุกคามที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ภาวะฉุกเฉินต่างๆที่กระทบต่อสภาพภูมิอากาศ และการทำลายความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เรื่องราวที่เชื่อมโยงระหว่างกัน ต่อการสูญเสียซึ่งกำลังคุกคามต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์โลก

เราได้ทราบข่าวจากแกนนำชนผ่าพื้นเมืองทั่วโลกได้ดำเนินการขับเคลื่อนและเป็นแกนนำในการพัฒนาแนวทางแก้ไขเพื่อรับมือกับวิกฤติต่างๆเหล่านี้ และดำเนินการเรียกร้องให้ทุกคนแสวงหาหนทางสู่อนาคตที่คืนความอุดมสมบูรณ์ และเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันเพื่อปกป้องชีวิตบนโลกนี้

วีดีทัศน์เรื่องนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ชมที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง และเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับแกนนำในชุมชน ครู อาจารย์ และนักเคลื่อนไหวกิจกรรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

และเราหวังว่าการสร้างเครื่องมือชุดนี้ จะช่วยหนุนเสริมให้ชุมชนต่างๆ ที่จะกลายเป็นแหล่งเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่บริบทระดับโลกในการรักษา ดำรงไว้ และส่งเสริม ความหลากหลายและฟื้นฟูวัฒนธรรม และดินแดนของชนเผ่าพื้นเมืองได้

ผู้สร้างหนังชนเผ่าพื้นเมือง

พริซิลา, ทาปาโจวารา, ทาปาโจ, ประเทศบราซิล เป็นชาวบราซิลจากป่าอเมซอน เป็นนักเคลื่อนไหวชนเผ่าพื้นเมืองด้านสภาพอากาศ ช่างภาพ ผู้ผลิตเนื้อหาภาพและเสียง และผู้ประสานงานของสื่อชนเผ่าพื้นเมือง NGO Mídia India (@priscilatapajowara)

นานัง สุจานะ, เรจัง, ประเทศอินโดนีเซีย 
นานังเป็นผู้สร้างวีดีทัศน์สารคดีที่ได้รับรางวัล ซึ่งผลงานเกี่ยวข้องกับการกำกับ ถ่ายทำ และตัดต่อวีดีทัศน์หลากหลายประเภท เช่น สิ่งแวดล้อม ชนเผ่าพื้นเมือง สังคม และสิทธิมนุษยชน เขาทำงานให้กับรายการข่าวและรายการทาง BBC Natural History, Netflix, National Geographic, The Guardian, HBO, PBS, Al Jazeera, Stern TV และผู้ออกอากาศรายใหญ่อื่นๆ ปัจจุบันเขามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับ Indonesia Nature Film Society (INFIS) ในฐานะคณะกรรมการและผู้สร้างวีดีทัศน์หลัก (http://nanangsjana.id/)

มาติอุส ตุโก, โลยตา มาไซ, ประเทศแทนซาเนีย 
มาติอุสเป็นผู้สร้างวีดีทัศน์ รวมถึงเป็นผู้ประกาศข่าวและผู้นำเสนอรายการวิทยุชุมชน Maasai Bhe โดยเน้นในการแบ่งปันข้อมูลเรื่องราวผ่านผู้อาวุโสชาวมาไซเพื่อปกป้องวัฒนธรรมและอาณาเขตของบรรพบุรุษของชาวมาไซ

เลกิ อูเรียนา เฮนริเกซ, วายู ซิโจนา, ประเทศโคลอมเบีย
เลกิเป็นผู้สร้างวีดีทัศน์สารคดีที่สำเร็จการศึกษาจาก Escuela Internacional de Cine y Tv EICTV de San Antonio de los Baños ในประเทศคิวบา (ปี 2012) ตั้งแต่ปี 2004 เธอได้ร่วมแสดงในวีดีทัศน์โคลัมโบ-เวเนซุเอลาหลายเรื่อง รวมถึง Señal Colombia, Canal Capital, ProColombia และ Canal Caracol เธอเป็นผู้อำนวยการสร้างภาคสนามในวีดีทัศน์เรื่อง "Pájaros de Verano" (2017) และ "Regreso al Mar de mis Muertos" (2019) และเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการของเทศกาลวีดีทัศน์นานาชาติ Cartagena ครั้งที่ 59, 60 และ 61 ปัจจุบันเธอกำลังโปรโมต WayuuLab ซึ่งเป็นร้านล้างภาพ ชนผ่าพื้นเมืองแห่งแรกในประเทศโคลอมเบีย วิดีโอ Wayuu MUCIWA และงานแสดงวีดีทัศน์ 

โคนีนี รองโก ชาวเมารี หมู่เกาะคุก 
โคนีนีเป็นนักอนุรักษ์ ช่างภาพ และผู้สร้างวีดีทัศน์ เธอยังเป็นผู้อุทิศตนในการปกป้องผืนดินและผืนน้ำของบรรพบุรุษของเธอ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์ การปลูกป่า และความมั่นคงทางอาหารของ Kōrero O Te `Ōrau

คีนัน เทการ์, ดายาร์ก อิบัน, ประเทศอินโดนีเซีย 
คีนันเป็นผู้สร้างวีดีทัศน์ ชาวดายาร์กรุ่นเยาว์จาก เมืองซันไก อูติก ตั้งอยู่ทางกาลิมันตันตะวันตก เขาเรียนหนังสือที่บ้านและขณะเดียวกันก็เป็นนักสร้างวีดีทัศน์ ตั้งแต่เรียนจบระดับชั้นประถมศึกษา เขามุ่งมั่นและหลงใหลในการถ่ายภาพ การถ่ายวิดีโอ ธรรมชาติและการเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงลึกของชาวอิบัน เขาอาศัยอยู่ในบ้านทรงยาวแบบดั้งเดิมในท้องถิ่นและได้รับถ่ายทอดองค์ความรู้บรรพบุรุษจากอาจารย์อาเปย์ จังกัต ซึ่งเป็นผู้นำชาวอาดัต ที่เป็นนักปกป้องทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นโดยเขาเป็นผู้ที่ต่อสู้และต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าอย่างผิดกฎหมายในชุมชน

รูปา ฟลอเรส, ประเทศเปรู
ช่างภาพอิสระจากลิมา มุ่งเน้นการสร้างสรรค์เนื้อหาภาพและเสียงเพื่อเผยแพร่กิจกรรมทางวัฒนธรรมและกิจกรรมทางสังคม เขาทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Feria Perú Independiente, Proyecto AMIL, Techitos Legales และโรงเรียนโรงละคร Diez Talentos เขามีความสนใจในการเผยแพร่วัฒนธรรมและความเป็นตัวตนของชนพื้นเมืองอย่างเป็นพิเศษ ผ่านโปรเจ็กต์ภาพถ่ายของตนเอง ซึ่งเชื่อมโยงกระบวนการร่วมกันในการพิสูจน์สิทธิมนุษยชนและสิทธิส่วนรวม ตลอดจนโปรเจ็กต์ศิลปะเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่พัฒนาโดยองค์กรระดับรากหญ้าและชนเผ่าพื้นเมือง

ผลงาน: https://rupachay.tumblr.com/

หลุยส์ เอ็นริเก้ เบเซร์รา เบลาร์เด, ประเทศเปรู
หลุยส์เป็นช่างภาพสารคดีจากลิมา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์จาก Pontificia Universidad Católica del Perú เขาเป็นสมาชิกของกลุ่ม FAC - fotografxs autocovocadxs ลักษณะงานและผลงานของเขาเป็นการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชน การอพยพ เพศ มรดกทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และเขตแดน

ผู้นำชนพื้นเมือง - บทสัมภาษณ์

ทาเนีย ปาเรียวนา, เกชัว, ประเทศสาธารณรัฐเปรู
ทาเนียเป็นผู้นำในรัฐเคชัว นักสังคมสงเคราะห์ นักการเมือง และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนจาก คายาราทางตอนใต้ของประเทศเปรู ซึ่งเธอเป็นตัวแทนของภูมิภาคอายาคุโช ในสภาคองเกรสแห่งสาธารณรัฐเปรู ในฐานะนักเคลื่อนไหว เธอทำงานในวงกว้างเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคมสำหรับชนเผ่าพื้นเมือง เยาวชน และสตรี เธอเป็นสมาชิกวิสามัญของศูนย์วัฒนธรรมพื้นเมืองประเทศเปรู (Chirapaq) และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายสตรีชนเผ่าพื้นเมืองแห่งทวีปอเมริกา

อเดลเลดดา วังกรีเคิน, วายู, ประเทศโคลอมเบีย
ผู้นำชาววายุจากชุมชนปัตสุลี เธอเป็นผู้นำการปกป้องน้ำในดินแดนของชาววายู ต่อสู้เพื่อปกป้องแม่น้ำบรูโน และแม่น้ำรันเชเรีย และต่อต้านการทำเหมืองแร่ถ่านหินในเซเรฮอน

เจคเกลลีน โรเมโร เอปายู, วายู, ประเทศโคลอมเบีย
เจคเกลลีนเป็นผู้นำชาววายูของอีรูกุ เชื้อสายอีปียู ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการก่อตั้งชุมชนทางตอนใต้ของ ลา กัวจิรา ตั้งแต่เธอยังเด็กมาก เธอเป็นแม่ของลูกสาวสองคน และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนักเคลื่อไหวชาววายู (Fuerza Mujeres Wayuu movement) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและผลกระทบหลายประการของความขัดแย้งโดยใช้อาวุธในชุมชนชาววายู ในเขตลา กัวจิราในประเทศโคลอมเบีย และยังเป็นนักต่อสู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมการขุดเจาะ เช่น เหมืองแร่ถ่านหินขนาดใหญ่ เขื่อน พลังงานลม และอื่นๆ ในพื้นที่อาศัยของชาววายู

ดร. เทนา รองโก้, เมารี, หมู่เกาะคุก 
ดร. เทนา เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ประสานงานขององค์กรพัฒนาเอกชน Kōrero O Te `Ōrau โดยสนับสนุนแกนนำตามจารีตประเพณีในชุมชน และกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองของหมู่เกาะคุกในประเด็นการจัดการที่ดินและทะเลของชนเผ่าในเขตอำนาจของตน เขายังส่งเสริม ดำเนินการ และติดตามกฎหมายจารีตประเพณีที่ควบคุมกิจกรรมของมนุษย์ทุกรูปแบบที่สอดคล้องกับความรู้และแนวปฏิบัติตามจารีตประเพณี และตรวจสอบว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นสอดคล้องกับการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของพวกเขา และดร.เทนาได้จบปริญญาเอกในสาขาชีววิทยาทางทะเลอีกด้วย

ปิปี สุเปนี ดายัค เบนูอาค อินโดนีเซีย 
ปีปี เป็นผู้นำชนเผ่าพื้นเมืองของชาวเบนุค เธอได้อุทิศตนเพื่อปกป้องดินแดน ชองชาวเบนุคจากอุตสาหกรรมประเภทการสกัดและการพัฒนาเชิงพานิชย์ที่ทำลายธรรมชาติด้วย เธอได้จัดตั้งกลุ่มสตรีและเยาวชนจาก 14 หมู่บ้านใน 4 อำเภอในพื้นที่กาลิมันตันตะวันออก โดยรื้อฟื้นการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงในการเป็นปากเป็นเสียงเพื่อตนเองและคนอื่น เธอต่อสู้และเป็นแกนนำสตรีในชุมชนและในองค์กรท้องถิ่นที่ชื่อว่า PEREMPUAN AMAN Lou Bawe ด้วยเช่นกัน โดยมีเพื่อนๆสตรีพื้นเมืองในพื้นที่คอยหนุนเสริม

เปทรุส อาซุย, ดายาร์ก เบนนุย, ประเทศอินโดนีเซีย 
ปาค อาซุยเป็นแกนนำ ชาวดายาร์กที่มีชื่อเสียงในด้านการปกป้องสิทธิของชุมชนและเป็นนักปกป้องป่าตามตามจารีตของเมือง มัวรา แท ในปี 2015 เขาและเพื่อนๆชาวเบนุค ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก United Nations Equator Price จากการปกป้อง และฟื้นฟูพื้นที่ป่าตามจารีตของตนจากบริษัทเหมืองถ่านหินและสวนปาล์มน้ำมัน

มาริโซล การ์เซีย อาปาเกโน,คิชวา, ประเทศเปรู
เธอเป็นผู้นำชาวคิชวา จากชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง ทูแพค อมารู ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองซานมาร์ติน ประเทศเปรู เธอเป็นประธานคนปัจจุบันของสหพันธ์ชนเผ่าพื้นเมือง Kechwa Chazuta Amazonian Peoples (FEPIKECHA) และเป็นอดีตผู้นำขององค์กรการประสานงานเพื่อการพัฒนาชนเผ่าพื้นเมืองของภูมิภาคซานมาร์ติน (CODEPISAM) เธอเป็นกระบอกเสียงของผู้หญิงคิชวา และเป็นแกนนำเรียกร้องสิทธิในดินแดนกลุ่มคนของตนเอง เพื่อไปเผยแพร่ในพื้นที่ต่างๆ เช่น รัฐสภาแห่งสาธารณรัฐเปรู, IACHR, UNHCHR, IUCN, COP26, COP27, FOSPA และอื่นๆ อีกมากมาย เธอเป็นนักวิชาการในหลักสูตร Expert Degree in Indigenous Peoples, Human Rights and International Cooperation รุ่นที่ 16 ของ Intercultural Indigenous University (UII) และ Carlos III University of Madrid เธอส่งเสริมและปฏิบัติตามปรัชญาแห่งชีวิตและการต่อสู้ที่เธอเรียกว่า "นักสู้หัวใจสีเขียว (Green Heart Resistance)" เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม

แซมเวล นันกิเรีย, โลอิตา มาไซ, ประเทศแทนซาเนีย 
แซมเวลเป็นผู้พิทักษ์ดินแดนและวัฒนธรรมของชาวมาไซที่หยั่งรากลึกทางวัฒนธรรม เขาได้ก่อตั้งองค์กรหลายองค์กร ซึ่งรวมถึง NGOnet, Pan-African Living Cultures Alliance, Living Cultures movement, Oltolio Le Maa ในปี 2017 เขาได้รับการยกย่องให้เป็นผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในชนบทแห่งปีของประเทศแทนซาเนีย และเขายังคงต่อสู้เพื่อเป็นปากเป็นเสียงในการบังคับขับไล่ชนเผ่าพื้นเมืองออกจากดินแดนบรรพบุรุษของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง

โซเนีย กัวจาจารา, อาราริโบยา, ประเทศบราซิล 
โซเนียเป็นนักรณรงค์ด้านสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและเป็นนักปกป้องสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เธอยังคงต่อสู้เพื่อคนของตนเองมาจนถึงทุกวันนี้: เธอเป็นนักสิทธิสตรีที่ต่อต้านแนวคิดชายเป็นใหญ่ และเธอเป็นนักกิจกรรมที่ต่อต้านการสังหารหมู่ชนเผ่าพื้นเมือง และเธอยังเป็นนักสังคมนิยมที่ต่อต้านลัทธิเสรีนิยมใหม่ ปัจจุบันในฐานะผู้ประสานงานบริหารงานของ Articulation of Indigenous Peoples of Brazil โซเนียเป็นแกนนำในการต่อสู้กับรัฐบาลบอลโซนาโรที่พยายาม ทำลายดินแดนของชนเผ่าพื้นเมือง รวมถึงป่าดงดิบในเขตป่าอเมซอน ในปี 2022 เธอได้รับเลือกให้เป็นผู้ร่างกฎหมายชนพื&#


Related Project:

Territories of Life

The Territories of Life toolkit is a series of 10 short videos that share stories of resistance, resilience and hope with communities on the front-line of the global rush for land. These videos, available in English, Spanish, French, Indonesian and Swalhili and are currently being disseminated widely by community facilitators.


Indigenous Education

We support the propagation of education that is developed in indigenous territories; rooted in the knowledge systems and practices of the ancestors; and helping communities address the challenges of today.


Recent stories

LifeMosaic’s latest film now available in 8 languages

23rd Feb 2024
Indigenous communities around the world are hosting community screenings of the film 'Facing Extinction, Defending Life' to discuss the crisis on the world's climate, biodiversity and cultures and to vision community-led solutions.


LANÇAMENTO DO FILME BRASIL : Enfrentando a Extinção, Defendendo a Vida

23rd Jun 2023
Um filme que conta a história das ameaças à biodiversidade, a emergência climática e a rápida destruição da diversidade cultural: uma história interligada de perda que está ameaçando a existência humana no planeta.


© 2024 Copyright LifeMosaic
LifeMosaic is a Not for Profit Company Limited by Guarantee (Registered company number: SC300597) and a Charity Registered in Scotland (Scottish Charity number: SC040573)